Get Adobe Flash player

งานประกันคุณภาพ


ลิงค์ภายนอก




กรอบการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานทะเบียน 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานทะเบียน  หัวหน้าแผนกวิชา  และครูผู้สอน

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1

ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป

คำอธิบาย

จำนวนผู้เรียนในระดับ ปวช. และ ปวส. ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป

เทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด  ทั้งนี้ ยกเว้นผู้เรียนที่ออกกลางคัน

จำแนกตามชั้นปี ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของสถานศึกษา

* ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เฉลี่ยสะสมและการคำนวณร้อยละ ให้คิดเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2

หรือสิ้นภาคฤดูร้อน (ถ้ามี)

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป เทียบกับผู้เรียน

ที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด  ทั้งนี้ ยกเว้นผู้เรียนที่ออกกลางคันโดยพิจารณาจากภาพรวม

ของสถานศึกษา

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1.  หลักฐานจากงานทะเบียนด้านผู้เรียนในระดับ ปวช. และ ระดับ ปวส. ในแต่ละชั้นปี

     จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางานในภาคเรียนที่ 1 และ ภาคเรียนที่ 2 เกี่ยวกับ

      1.1  ข้อมูลผู้เรียนทั้งหมด

      1.2  ข้อมูลผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด

      1.3  ข้อมูลผู้เรียนที่ออกกลางคัน

      1.4  ข้อมูลผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป

2.  ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป  เทียบกับผู้เรียน

     ที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ทั้งนี้ยกเว้นผู้เรียนที่ออกกลางคันในระดับ ปวช. และ

     ระดับ ปวส. จำแนกตามชั้นปี ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของ

     สถานศึกษา

3. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ร้อยละ 70.00-79.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ร้อยละ 60.00-69.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ร้อยละ 50.00-59.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 50.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.2

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  และงานโครงการพิเศษฯ 

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2

ระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงาน ชุมชน ที่มีต่อคุณภาพของผู้เรียน

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพองผู้เรียน 3 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะ

ที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป และด้านสมรรถนะวิชาชีพ

โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการ หน่วยงานควรไม่น้อยกว่า 5  แห่ง และบุคคลในชุมชนควรไม่น้อยกว่า 5  คน มีการสร้างเครื่องมือประเมินความพึงพอใจ โดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5 เพื่อเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างแครอบคลุมคุณภาพของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน มีการเก็บข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างและ

นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลอย่างถูกต้อง

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือ

เพื่อเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์

2.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 50.00 - 59.99

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

3.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 60.00 - 69.99

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

4.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 70.00 - 79.99

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

5.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 80.00  ขึ้นไป

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานเกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือประเมินความพึงพอใจ

    โดยใช้แบบประเมินมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5  เพื่อเก็บข้อมูล การเก็บ

    ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง การนำข้อมูลมาวิเคราะห์

2. ผลการประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงานที่รับผู้เรียนเข้าฝึกงาน

    ที่มีต่อคุณภาพทั้ง  3 ด้านของผู้เรียน

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคคลในชุมชนที่ส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพ

    ทั้ง 3 ด้านของผู้เรียน

4. ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมของสถานประกอบการ หน่วยงานและบุคคล

    ในชุมชนที่มีต่อคุณภาพทั้ง  3 ด้านของผู้เรียน

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) (4) และ (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) และ (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) และ (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และ (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1) 

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.3

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวัดผลและประเมินผล

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวัดผลและประเมินผล หัวหน้าแผนกวิชาชีพ และผู้เรียนชั้นปีสุดท้าย

 

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.3

ร้อยละของผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ

 

คำอธิบาย

จำนวนผู้เรียนในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรเทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร จำแนกตามระดับ ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางานและภาพรวมของสถานศึกษา

ระดับ ปวช.

ประเมินทฤษฎี  20%  ต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  ของคะแนนเต็ม

ประเมินปฏิบัติ  80%  ต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  65  ของคะแนนเต็ม

รวม 100%  ต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

ระดับ ปวส.

ประเมินทฤษฎี  40%  ต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  65  ของคะแนนเต็ม

ประเมินปฏิบัติ  60%  ต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  70  ของคะแนนเต็ม

รวม 100%  ต้องได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

 

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพเทียบกับผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร โดยพิจารณาจากภาพรวมของสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการกำหนดเครื่องมือประเมิน การสร้างเครื่องมือประเมิน และเกณฑ์การประเมิน

    มาตรฐานวิชาชีพแต่ละระดับ ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน

2. เครื่องมือประเมินมาตรฐานวิชาชีพในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. แต่ละประเภทวิชา

    สาขาวิชา สาขางาน

3. หลักฐานด้านผู้เรียนในระดับชั้น ปวช.3 และ ระดับชั้น ปวส.2 จำแนกตามประเภทวิชา

    สาขาวิชา สาขางาน เกี่ยวกับ

    3.1 ข้อมูลผู้เรียน ที่ลงทะเบียนเรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

    3.2 ข้อมูลผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินวิชาชีพ

4. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพเทียบกับผู้เรียนที่ลงทะเบียน-

    เรียนครบทุกรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. จำแนกตาม

    ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของสถานศึกษา

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ร้อยละ 70.00-79.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ร้อยละ 60.00-69.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ร้อยละ 50.00-59.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 50.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.4

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวัดผลและประเมินผล 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวัดผลและประเมินผล  หัวหน้าแผนกวิชาชีพ ครูผู้สอน และ ผู้เรียน ปวช.3,ปวส.2

 

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4

ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา

(V-NET) ตั้งแต่คะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป

 

คำอธิบาย

จำนวนผู้เรียนในระดับชั้น ปวช.3และ ปวส.2  ที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการอาชีวศึกษา (V-NET) จากสถาบันทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไปเทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียน ที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบ จำแนก ตามระดับชั้น ประเภทวิชา สาขาวิชาสาขางาน

และภาพรวมของสถานศึกษา

 

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไปเทียบกับผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบ

โดยพิจารณาจากภาพรวมของสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานด้านผู้เรียนระดับชั้น ปวช.3 และ ปวส.2 จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา

    สาขางานเกี่ยวกับ

    1.1 ข้อมูลผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)

    1.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) จากสถาบันทดสอบ

          ทางการศึกษา (องค์การมหาชน) (สทศ.)

    1.3 ข้อมูลผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา

          (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป

2. ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา

     (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป เทียบกับผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบ

    ในระดับ ปวช. และ ปวส. จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวม

     ของสถานศึกษา

3. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

 

-

ร้อยละ 65.00  ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

 

-

ร้อยละ 55.00-64.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

 

-

ร้อยละ 45.00-54.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

 

-

ร้อยละ 35.00-44.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 35.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.5

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวัดผลและประเมินผล 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวัดผลฯ หัวหน้าแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ และ ครูผู้สอนหมวดวิชาภาษาอังกฤษ

 

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.5

ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตั้งแต่คะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไปในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ

 

คำอธิบาย

จำนวนผู้เรียนในระดับชั้น ปวช.3 และ ปวส.2 ที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป

ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) เทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบจำแนกตามระดับชั้น

ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของสถานศึกษา

 

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไปในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเทียบกับผู้เรียน

ที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบ โดยพิจารณาภาพรวมของสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานด้านผู้เรียนในระดับชั้น ปวช.3 และ ปวส.2 จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา

    สาขางาน เกี่ยวกับ

    1.1 ข้อมูลผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET)

    1.2 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) จากสถาบันทดสอบ

          ทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ

    1.3 ข้อมูลผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา

         (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ

2. ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา

   (V-NET) ตั้งแต่ค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติขึ้นไป ในกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ เทียบกับผู้เรียน

   ที่ลงทะเบียนเข้าทดสอบ ในระดับ ปวช. จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน

   และภาพรวมของสถานศึกษา

3. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

 

-

ร้อยละ 65.00  ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

 

-

ร้อยละ 55.00-64.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

 

-

ร้อยละ 45.00-54.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

 

-

ร้อยละ 35.00-44.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 35.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.6

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวัดผลและประเมินผล 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวัดผลฯ หัวหน้าแผนกวิชาชีพ และ ครูผู้สอน

 

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.6

ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษารับรอง

 

คำอธิบาย

   จำนวนผู้เรียนในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการ-อาชีวศึกษารับรองเทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้ารับการทดสอบมาตรฐานอาชีพจำแนกตามระดับชั้นประเภทวิชาสาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของสถานศึกษา

    การผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานอาชีพของผู้เรียนให้เป็นไปตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษารับรอง

ได้กำหนดไว้

 

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือ หน่วยงานที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษารับรอง เทียบกับผู้เรียน

ที่ลงทะเบียนเข้ารับการทดสอบโดยพิจารณาจากภาพรวมของสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานด้านผู้เรียนในระดับชั้น ปวช. และระดับ ปวส. ในแต่ละชั้นปีจำแนกประเภทวิชา

    สาขาวิชา สาขางาน เกี่ยวกับ

1.1          ข้อมูลผู้เรียน ที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด

1.2          ข้อมูลผู้เรียนที่ลงทะเบียนเข้ารับการทดสอบมาตรฐานอาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษารับรอง (หลักฐานจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพหรือหน่วยงานที่คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในการอาชีวศึกษารับรอง)

2. ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานอาชีพเทียบกับผู้เรียนที่ลงทะเบียน

    เข้ารับการทดสอบมาตรฐานอาชีพในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. จำแนกตาม

    ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของสถานศึกษา

3. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

 

-

ร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

 

-

ร้อยละ 70.00-79.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

 

-

ร้อยละ 60.00-69.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

 

-

ร้อยละ 50.00-59.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 50.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.7

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานทะเบียน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

หัวหน้าแผนกวิชา  และครูผู้สอน

 

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.7

ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเทียบกับแรกเข้า

 

คำอธิบาย

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาเทียบร้อยละกับจำนวนผู้เรียนแรกเข้าของรุ่นนั้นจำแนกตามวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของสถานศึกษา

 

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเทียบกับแรกเข้าของรุ่นนั้นโดยพิจารณา

จากภาพรวมของสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานด้านผู้เรียนแรกเข้าและผู้สำเร็จการศึกษาของรุ่นนั้นในระดับ ปวช. และระดับ

    ปวส. จำแนกตามวิชา สาขาวิชา สาขางาน เกี่ยวกับ

    1.1 ข้อมูลผู้เรียนแรกเข้า ณ เดือนมิถุนายน หรือรายงานข้อมูลนักเรียนนักศึกษารายบุคคล

          เพื่อประกอบการจัดสรรงบประมาณต่อหัว

    1.2 ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมด ตามแบบรายงานผลการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษา

           ตามหลักสูตร

    1.3 ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาจากผู้เรียนแรกเข้าของรุ่นนั้น

    1.4 ข้อมูลของผู้ไม่สำเร็จการศึกษา พร้อมผู้เรียนแรกเข้าของรุ่นนั้นเนื่องจากสาเหตุต่างๆ

           เช่น ลาออก เสียชีวิต พ้นสภาพเนื่องจากคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึงเกณฑ์ เป็นต้น

2. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเทียบกับผู้เรียนแรกเข้าของรุ่นนั้นในระดับ

     ปวช. และระดับ ปวส. จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และภาพรวมของ

     สถานศึกษา

3. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

 

-

ร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

 

-

ร้อยละ 70.00-79.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

 

-

ร้อยละ 60.00-69.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

 

-

ร้อยละ 50.00-59.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 50.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.8

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานแนะแนวฯ หัวหน้าแผนกวิชาชีพ

ครูที่ปรึกษาของผู้สำเร็จการศึกษา และ ผู้สำเร็จการศึกษา

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.8

ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อภายใน 1 ปี

 

คำอธิบาย

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ในปีการศึกษาที่ผ่านมาที่ได้งานทำในสถานประกอบการ หน่วยงานประกอบอาชีพอิสระ และศึกษาต่อภายใน 1 ปี เทียบร้อยละกับจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาจำแนกตามระดับ ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางานและภาพรวมของสถานศึกษา

 

ประเด็นการพิจารณา

ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระ หรือศึกษาต่อภายใน 1 ปี เทียบกับผู้สำเร็จการศึกษาโดยพิจารณาจากภาพรวมของสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาทั้งหมด ระดับ ปวช. และระดับ ปวส. ในแต่ละประเภทวิชา

    สาขาวิชา สาขางาน ตามแบบรายงานผลการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรใน

    ปีการศึกษาที่ผ่านมา

2. ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาจำแนกตามระดับประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน ที่ได้งานทำ

     ภายใน 1 ปี ในสถานประกอบการหน่วยงานต่างๆ พร้อมด้วยข้อมูลของสถานประกอบการ   

     หน่วยงาน

3. ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาจำแนกตามระดับประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางานที่ประกอบ-

     อาชีพอิสระภายใน 1 ปี พร้อมข้อมูลอาชีพและสถานที่ประกอบอาชีพ

4. ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาจำแนกตามระดับประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน ที่ศึกษาต่อ

    ภายใน 1 ปี พร้อมข้อมูลของสถานศึกษาที่เข้าศึกษาต่อ

5. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้งานทำ หรือประกอบอาชีพอิสระหรือศึกษาต่อภายใน

    1 ปี เทียบกับผู้สำเร็จการศึกษาจำแนกตามระดับ ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน และ

     ภาพรวมของสถานศึกษา

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

 

-

ร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

 

-

ร้อยละ 70.00-79.99 

=

4 คะแนน

ดี

 

 

-

ร้อยละ 60.00-69.99

=

3 คะแนน

พอใช้

 

 

-

ร้อยละ 50.00-59.99

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

 

-

ต่ำกว่าร้อยละ 50.00

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  1.9

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานแนะแนวอาชีพและการจัดหางาน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานแนะแนวฯ  หัวหน้าแผนกวิชาชีพ 

ครูที่ปรึกษาของผู้สำเร็จการศึกษา และ

ผู้สำเร็จการศึกษา

 

 

มาตรฐานที่  1   

ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา

 

ตัวบ่งชี้ที่ 1.9

ระดับความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงาน หรือสถานศึกษา หรือ ผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา

 

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาใน 3 ด้าน

คือ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป และ

ด้านสมรรถนะวิชาชีพ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการ หน่วยงานหรือ กลุ่มสถานศึกษา หรือกลุ่มผู้รับบริการรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของจำนวน

สถานประกอบการ หน่วยงาน สถานศึกษาผู้รับบริการ มีการสร้างเครื่องมือประเมิน

ความพึงพอใจโดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5 เพื่อเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างและครอบคลุมคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 3 ด้าน มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลอย่างถูกต้อง

 

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือ

เพื่อเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลมาวิเคราะห์

 

 

2.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 50.00 - 59.99

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

 

 

3.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 60.00 - 69.99

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

 

 

4.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 70.00 - 79.99

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

 

 

5.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจเฉลี่ย 3.51-5.00  คิดเป็นร้อยละ 80.00 ขึ้นไป

เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากภาพรวม

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานเกี่ยวกับการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือประเมินความพึงพอใจ

    โดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5 เพื่อเก็บข้อมูลการเก็บ

    ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง การนำข้อมูลมาวิเคราะห์

2. ผลการประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการ หน่วยงานที่รับผู้เรียนเข้าทำงาน

    ที่มีต่อคุณภาพทั้ง 3 ด้านของผู้สำเร็จการศึกษา

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของสถานศึกษาที่รับผู้สำเร็จการศึกษาต่อที่มีต่อคุณภาพ

    ทั้ง 3 ด้านของผู้สำเร็จการศึกษา

4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากการประกอบอาชีพอิสระของผู้สำเร็จ

    การศึกษาที่มีต่อคุณภาพทั้ง 3 ด้านของผู้สำเร็จการศึกษา

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1) 

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  2.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานพัฒนาหลักสูตรฯ  หัวหน้าแผนกวิชา  และครูผู้สอน

 

 

 

มาตรฐานที่  2   

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา   

 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1

ระดับคุณภาพในการใช้และพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการหรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูใช้และพัฒนาหลักสูตร ฐานสมรรถนะรายวิชา โดยกำหนดรายวิชาใหม่ หรือปรับปรุงรายวิชาเดิม เกี่ยวกับเนื้อหาสาระ โดยร่วมกับสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการหรือประชาคมอาเซียน

 

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการสำรวจข้อมูลความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร

 

 

2.

สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

 

3.

สถานศึกษามีการทดลองใช้หลักสูตร

 

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินหลักสูตร

 

 

5.

สถานศึกษามีการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่พัฒนาแล้วตามข้อ (1) (4)

 ไม่เกิน  3 ปี ไปใช้อย่างน้อยร้อยละ  50  ของจำนวนสาขางานที่จัดการเรียนการสอน

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลสาขางานที่เปิดสอนในสถานศึกษา

2. รายงานการสำรวจความต้องการหรือความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ

    รายวิชา

3. หลักฐานความร่วมมือกับสถานประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา

    หลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา

4. หลักฐานการทดลองใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา

5. หลักฐานการประเมินหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชา

6. หลักฐานที่สาขางานได้นำหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่พัฒนาแล้วไม่เกิน 3 ปี

    ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

7. ร้อยละของสาขางานที่ได้นำหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่พัฒนาแล้วไม่เกิน 3 ปี

    ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเทียบกับสาขางานที่เปิดสอนในสถานศึกษา

8. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) (4) และ (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) และ (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) และ (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และ (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1) 

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  2.2

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานพัฒนาหลักสูตรฯ  หัวหน้าแผนกวิชา  และครูผู้สอน

 

 

 

มาตรฐานที่  2   

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา   

 

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2

ระดับคุณภาพในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา

 

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาด้วยเทคนิควิธีการสอน

ที่หลากหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชาที่สอน

 

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาด้วยเทคนิควิธีการสอน

ที่หลากหลาย ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพและบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชาที่สอน

 

 

2.

สถานศึกษามีครูที่ดำเนินการตาม (1)  ร้อยละ 50.00 - 59.99  ของจำนวนครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา

 

 

3.

สถานศึกษามีครูที่ดำเนินการตาม (1)  ร้อยละ 60.00 - 69.99 ของจำนวนครูผู้สอนทั้งหมด

ในสถานศึกษา

 

 

4.

สถานศึกษามีครูที่ดำเนินการตาม (1)  ร้อยละ 70.00 - 79.99  ของจำนวนครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา

 

 

5.

สถานศึกษามีครูที่ดำเนินการตาม (1)  ร้อยละ 80.00  ขึ้นไป ของจำนวนครูผู้สอนทั้งหมด

ในสถานศึกษา

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา

2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอน

3. แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลายหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพและ

    บูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของ

    เศรษฐกิจพอเพียงของครูแต่ละคนในรายวิชาที่สอน

4. ร้อยละของครูที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลายหลายที่มุ่งเน้น

    สมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะ

    อันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกรายวิชาที่สอนเทียบกับครูผู้สอน

    ทั้งหมดในสถานศึกษา

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน


-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และมีผลตาม (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1) 

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  2.3

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานพัฒนาหลักสูตรฯ  หัวหน้าแผนกวิชา  และครูผู้สอน

 

 

มาตรฐานที่  2   

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา   

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3

ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการให้ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนและให้ครูทำบันทึกหลังการสอนให้ครูนำผลจากการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลายหลาย และผลการนิเทศ

การจัดการเรียนการสอนไปจัดทำวิจัยและนำผลจากการวิจัยไปแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา

การเรียนการสอน

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูแต่ละคนจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้

ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพและบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของรายวิชาที่สอน

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูแต่ละคนใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัด

การเรียนการสอน   ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของรายวิชาที่สอน

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนและให้ครูแต่ละคน

ทำบันทึกหลังการสอน ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของรายวิชาที่สอน

 

4.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูแต่ละคนนำผลจากการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายและผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนไปจัดทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา

หรือพัฒนาการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าหนึ่งรายวิชาที่สอน

 

5.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูแต่ละคนนำผลจากการวิจัยไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าหนึ่งรายวิชาที่สอน

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลรายวิชาทั้งหมดที่สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน

2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอน

3. หลักฐานของรายวิชาที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้

    ด้วยเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม

    จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. หลักฐานของรายวิชาที่มีการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน

5. หลักฐานของรายวิชาที่มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนและให้ครูทำบันทึกหลัง

    การสอน

6. หลักฐานของรายวิชาที่ครูนำผลจากการสอนด้วยเทคนิควิธี การสอนที่หลากหลาย และ

    ผลการนิเทศการจัดการเรียนการสอนไปจัดทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียน

    การสอน

7. หลักฐานของรายวิชาที่ครูนำผลจากการวิจัยไปแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอน

8. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อผู้สอน

9. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

 

 

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  2.4

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวัดผลและประเมินผล 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวัดผลและประเมินผล  หัวหน้าแผนกวิชา  และครูผู้สอน

 

 

มาตรฐานที่  2   

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา   

ตัวบ่งชี้ที่ 2.4

ระดับคุณภาพในการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรายวิชา

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคนกำหนด และแจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบก่อนการจัดการเรียนการสอน มีการวัดและประเมินผล

ตามแผน การจัดการเรียนรู้ใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสม

ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลและนำผลจากการวัดและประเมินผลไปใช้

ในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคนกำหนด และแจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบก่อนการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาที่สอน

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคน วัดและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้

ทุกรายวิชาที่สอน

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคน ใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมทุกรายวิชาที่สอน

 

4.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคน ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผล

ทุกรายวิชาที่สอน

 

5.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคน นำผลจากวัดและประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ รพัฒนาสมรรถนะ

รายวิชาที่สอนารวัดและประเมินผล

 และบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกรายวิชาที่สอน


-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูผู้สอนทั้งหมดในสถานศึกษา

2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอน

3. หลักฐานการกำหนด และแจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนทราบ

    ก่อนการจัดการเรียนการสอนของครูทุกคนในทุกรายวิชาที่สอน

4. หลักฐานการวัดและประเมินผลตามแผนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคนในทุกรายวิชา

    ที่สอน

5. หลักฐานหลักฐานการใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายและเหมาะสมของ

    ครูทุกคนในทุกรายวิชาที่สอน

6. หลักฐานการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผลของครูทุกคนในรายวิชา

    ที่สอน

7. หลักฐานการนำผลจากการวัดและประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

    ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ และบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะ

    อันพึงประสงค์ และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูทุกคนในรายวิชาที่สอน

8. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

 

 

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  2.5

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

หัวหน้าแผนกวิชาชีพ  ครูนิเทศ ผู้เรียน และสถานประกอบการ/หน่วยงาน

 

 

มาตรฐานที่  2   

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา   

ตัวบ่งชี้ที่ 2.5

ระดับคุณภาพในการฝึกงาน

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการคัดเลือก สถานประกอบการ หน่วยงาน และทำความร่วมมือในการ

ส่งผู้เรียนเข้าฝึกงาน ตามหลักสูตร มีการปฐมนิเทศผู้เรียนก่อนการฝึกงานพร้อมมีคู่มือ

การฝึกงาน มีการนิเทศการฝึกงานของผู้เรียนในสถานประกอบการ หน่วยงาน มีการวัดผลการฝึกงานของผู้เรียนร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงานเพื่อนะผลไปปรับปรุง

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการคัดเลือกสถานประกอบการ หน่วยงานและทำความร่วมมือในการ

ส่งผู้เรียนเข้าฝึกงานตรงหรือสัมพันธ์กับสาขางาน

 

2.

สถานศึกษามีการปฐมนิเทศผู้เรียนก่อนการฝึกงานพร้อมมีคู่มือการฝึกงาน

 

3.

สถานศึกษามีการนิเทศการฝึกงานของผู้เรียนในสถานประกอบการ หน่วยงาน

 

4.

สถานศึกษามีการวัดผลการฝึกงานของผู้เรียนร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงาน

 

5.

สถานศึกษามีการสัมมนาการฝึกงานของผู้เรียนเพื่อนำผลไปปรับปรุง โดยเชิญ

สถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการสัมมนา

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลสถานประกอบการ หน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือกและทำความร่วมมือในการ

    ส่งผู้เรียนเข้าฝึกงานตามหลักสูตร

2. หลักฐานการปฐมนิเทศผู้เรียนก่อนการฝึกงานพร้อมมีคู่มือการฝึกงาน

3. หลักฐานการนิเทศการฝึกงานของผู้เรียนในสถานประกอบการ หน่วยงาน

4. หลักฐานการวัดผลการฝึกงานของผู้เรียนร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงาน

5. หลักฐานการเชิญสถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนา

6. หลักฐานการสัมมนาการฝึกงานของผู้เรียนร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงาน

    เพื่อนำผลไปปรับปรุง

7. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  2.6

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

หัวหน้าแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

หัวหน้าแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์  งานพัฒนาหลักสูตรฯ  และครูผู้สอนด้านภาษาอังกฤษ

 

 

มาตรฐานที่  2   

ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา   

ตัวบ่งชี้ที่ 2.6

ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการจัดรายวิชาภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนทั้งปีการศึกษา  ส่งเสริมให้ครูผู้สอนด้านภาษาอังกฤษจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามวิชาชีพและเชิญบุคคลภายนอกให้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียน  ตลอดจน ดำเนินการให้ผู้เรียนประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ 

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาดำเนินการจัดรายวิชาภาษาอังกฤษทั้งภาคเรียนที่ 1 และ ภาคเรียนที่ 2 

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของสาขางานที่เปิดสอน

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูผู้สอนด้านภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบบูรณาการตามวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของสาขางานที่เปิดสอน

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูผู้สอนด้านภาษาอังกฤษจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ทั้งภายในและภายนอก ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  ของรายวิชาที่สอน

 

4.

สถานศึกษาดำเนินการเชิญบุคคลภายนอกให้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะ

ด้านภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียน  อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

 

5.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้

ด้านภาษาอังกฤษ  และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย  3.51 5.00

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูผู้สอนด้านภาษาอังกฤษทั้งหมดในสถานศึกษา

2. หลักฐานหรือคำสั่งมอบหมายวิชาสอนหรือตารางสอนแก่ครูด้านภาษาอังกฤษ

3. แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาอังกฤษตามวิชาชีพของครูในรายวิชาที่สอน

4.  หลักฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ

5.  หลักฐานการเชิญบุคคลภายนอกให้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษ

     แก่ผู้เรียน 

6. รายงานการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ

7. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานบุคลากร

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานบุคลากร คณะกรรมการวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1

ระดับคุณภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

คำอธิบาย

คณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยของสถานศึกษา แต่ละสังกัดและอำนาจหน้าที่

ได้ถือปฏิบัติดังนี้ คือ

     สถานศึกษาอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 และกฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการคุณสมบัติ หลักเกณฑ์การสรรหา การเลือกประธานกรรมการ และกรรมการ การประชุม วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการวิทยาลัย พ.ศ. 2553

      การประเมินความพึงพอใจของคระกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยในการปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกให้ใช้แบบประเมิน มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

     ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มิได้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมิได้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย  ซึ่งสถานศึกษาเป็นผู้เสนอและ

คณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยให้ความเป็นชอบ ให้ทำหน้าที่ประเมินความพึง-พอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย ในการปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ประเมิน 2 ด้านดังกล่าว อาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเดียวกัน

ก็ได้

     การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานศึกษารับทราบข้อมูลและนำผลไปปรับปรุงการดำเนินงานต่อไปให้ใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

   การประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย รับทราบข้อมูลและนำผล

ไปพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

-2-

 

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย ตามที่กำหนดในกฎหมาย

ที่เกี่ยวข้อง

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

อย่างน้อยภาคเรียนละ  1 ครั้ง

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้คณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย  ปฏิบัติงานตามอำนาจ

หน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

4.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถานศึกษาประเมินความพึงพอใจ

ของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยในการปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา

และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย  3.51-5.00

 

5.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถานศึกษาประเมินคุณภาพ

การปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ

การปฏิบัติงาน

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

2. รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

3. หลักฐานการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

    ในการปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

5. หลักฐานการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

    เพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.2

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวางแผนและงบประมาณ

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวางแผนและงบประมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการ และคณะกรรมการวิทยาลัย

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2

ระดับคุณภาพในการจัดทำแผนการบริหารจัดการสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการ และหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและมีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา มีการดำเนินงานตามแผน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง พร้อมทั้งจักทำรายงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วม

ของครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

 

2.

สถานศึกษามีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

 

3.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

 

4.

สถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

 

5.

สถานศึกษามีการจัดทำรายงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของ

    ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการและ หน่วยงาน

    ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

2. หลักฐานการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีโดยการมีส่วนร่วมของครู และบุคลากร

    ทุกฝ่ายในสถานศึกษา

3. หลักฐานการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

4. หลักฐานการติดตามตรวจสอบประเมินผลและเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

5. รายงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน


-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.3

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวางแผนและงบประมาณ

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวางแผนและงบประมาณ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการวิทยาลัย

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.3

ระดับคุณภาพในการพัฒนาสถานศึกษาตามอัตลักษณ์

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการพัฒนาสถานศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ตามอัตลักษณ์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัยโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการกำหนดอัตลักษณ์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

 

2.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการพัฒนาสถานศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของ

สถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ชุมชน

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

3.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการวข้องวมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ชุมชน

ะกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

 

5.

สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา อัตลักษณ์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของ

    สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

2. หลักฐานการจัดทำแผนงาน โครงการพัฒนาสถานศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของ

    สถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ชุมชน และหน่วยงาน

    ที่เกี่ยวข้อง

3. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

4. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินตามแผนการ โครงการ

 5. หลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) (4) และ (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) และ (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) และ (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และ (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1) 

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.4

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานบุคลากร

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานบุคลากร งานบริหารงานทั่วไป

งานแนะแนวฯ งานครูที่ปรึกษา งานปกครอง  งานพัฒนาหลักสูตรฯ งานทะเบียน และ

งานวางแผนฯ

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.4

ระดับคุณภาพในการบริหารงานและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

คำอธิบาย

  ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารงานตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดโดยสังกัด

โดยใช้ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและมีการประเมินผลบริหารงานและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย โดยใช้

แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

  ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้อำนวยการสถานศึกษา

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด

 

2.

สถานศึกษามีการประชุมครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรียนละ

2  ครั้ง

 

3.

สถานศึกษามีการจัดประชุมผู้ปกครอง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการอาชีวศึกษา

อย่างน้อยภาคเรียนละ 1  ครั้ง

 

4.

สถานศึกษามีการนำความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปใช้ในการ

พัฒนาสถานศึกษา

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินผลการบริหารงาน และภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

โดยคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย 3.51 5.00

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด

2. รายงานการประชุมครู และบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

3. รายงานการประชุมผู้ปกครอง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัด การอาชีวศึกษา

4. หลักฐานการนำความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย ครูและ

    บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปใช้ในการ

    พัฒนาสถานศึกษา

5. หลักฐานการประเมินการบริหารงานและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา

    โดยคณะกรรมการสถานศึกษาหรือวิทยาลัย

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.5

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ งานทะเบียน

งานแนะแนวฯ งานบุคลากร งานวางแผนฯ

งานพัฒนาหลักสูตรฯ งานพัสดุ

งานอาคารสถานที่ ครูและบุคลากร

ทางการศึกษา และผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.5

ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีระบบข้อมูลสารสนเทศและมีระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศเพื่อป้องกัน

การสูญหายของข้อมูล โดยมีข้อมูลพื้นฐานอย่างน้อย 9 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ข้อมูลตลาดแรงงาน ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลงบประมาณและการเงิน ข้อมูลหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ข้อมูลครุภัณฑ์ ข้อมูลอาคารสถานที่ และข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด โดยข้อมูลจะต้องครบถ้วน เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและเป็น-ปัจจุบัน มีการดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและมีการประเมินความพึงพอใจ ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาโดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียนโยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีข้อมูลพื้นฐาน  9  ประเภท และอาจมีข้อมูลอื่นที่จำเป็นสำหรับสถานศึกษา

ที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงเป็นระบบ  และมีระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศเพื่อป้องกัน

การสูญหายของข้อมูล

 

2.

สถานศึกษามีการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียนสามารถ

เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลสารสนเทศ

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ

ของสถานศึกษา โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

5.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา โดยเฉลี่ย  3.51 5.00

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ อย่างน้อย 9 ประเภทและมีระบบสำรองข้อมูลสารสนเทศ

    เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

2. หลักฐานการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน

3. หลักฐานที่ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียนใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล

    สารสนเทศของสถานศึกษา

4. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ

    ของสถานศึกษา โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียน

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

         

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.6

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานปกครอง

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานปกครอง งานอาคารสถานที่ งานครูที่ปรึกษา งานโครงการพิเศษฯ งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา  งานสวัสดิการนักเรียนนักศึกษา  หัวหน้าแผนกวิชา ครูและบุคลากรทางการศึกษา  ผู้เรียน และ ผู้ปกครอง

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.6

ระดับคุณภาพในการบริหารความเสี่ยง

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการวิเคราะห์และจัดทำแผนงาน โครงการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญอย่างน้อย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านการทะเลาะวิวาท ด้านสิ่งเสพติด ด้านสังคม

ด้านการพนันและการมั่วสุม โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียนและผู้ปกครอง มีการดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการ มีการประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีผลทำให้ความเสี่ยงในด้านต่างๆ ลดลง

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการวิเคราะห์และจัดทำแผนงาน โครงการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ

อย่างน้อย  5 ด้าน  ได้แก่  ด้านความปลอดภัย  ด้านการทะเลาะวิวาท  ด้านสิ่งเสพติด

ด้านสังคม  ด้านการพนันและการมั่วสุม  โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร

ทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน และผู้ปกครอง

 

2.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

 

3.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการวข้องวมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ชุมชน

ะกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

 

4.

สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง

 

5.

สถานศึกษามีความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย  3 ด้าน

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการวิเคราะห์และจัดทำแผนงาน โครงการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญอย่างน้อย

    5 ด้าน โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน และ

    ผู้ปกครอง

2. หลักฐานการดำเนินงานตามแผนงานโครงการบริหาความเสี่ยง

3. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

4. หลักฐานการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง

5. หลักฐานแสดงผลการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยง (เพิ่มหรือลด) ในแต่ละด้าน

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน


-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) (4) และ (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) และ (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) และ (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และ (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1) 

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.7

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานครูที่ปรึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานครูที่ปรึกษา งานแนะแนวฯ  ครูที่ปรึกษา  ผู้เรียน และ ผู้ปกครอง

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.7

ระดับคุณภาพในการจัดระบบดูแลผู้เรียน

คำอธิบาย

  สถานศึกษาจัดระบบดูแลผู้เรียนโดยมีการปฐมนิเทศผู้เรียน มีการแต่งตั้งครูที่ปรึกษา

มีระบบ เครือข่ายผู้ปกครองเพื่อร่วมกันดูแลผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้เรียน มีระบบดูแลผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงและส่งเสริมผู้เรียนปัญญาเลิศ

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการจัดปฐมนิเทศผู้เรียน

 

2.

สถานศึกษามีการแต่งตั้งครูที่ปรึกษาและจัดให้ผู้เรียนพบครูที่ปรึกษาอย่างน้อย

สัปดาห์ละ1 ครั้ง

 

3.

สถานศึกษามีระบบเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อร่วมกันดูแลผู้เรียน

 

4.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการส่งเสริมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนอย่างน้อย

ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้เรียนที่ร้องขอ

 

5.

สถานศึกษามีระบบดูแลผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงและส่งเสริมผู้เรียนปัญญาเลิศ

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการจัดปฐมนิเทศผู้เรียน

2. คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษาและหลักฐานการพบ การให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน

3. หลักฐานการดำเนินการระบบเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันดูแลผู้เรียน

4. แผนงาน โครงการและผลการส่งเสริมสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้เรียน

5. หลักฐานการดำเนินงานของระบบดูแลผู้เรียนกลุ่มเสี่ยง และส่งเสริมผู้เรียนปัญญาเลิศ

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.8

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานศูนย์วิทยบริการและห้องสมุด 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานศูนย์วิทยบริการและห้องสมุด 

งานอาคารสถานที่  หัวหน้าแผนกวิชา ผู้รับผิดชอบห้องเรียนห้องปฏิบัติการ และ

โรงฝึกงาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.8

ะดับคุณภาพในการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของสถานศึกษาและ

การใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์ของสถานศึกษาและ

การใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการ มีการประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5 และมีการ

นำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ โดยการมีส่วนร่วมของ ครูและบุคลากร

ทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการในการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของ

สถานศึกษาและการใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน  ศูนย์วิทย-บริการ โดยการมีส่วนร่วมของครู และบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

2.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

 

3.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของสถานศึกษา

และการใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน  ศูนย์วิทยบริการ 

โดยครู และบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

4.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจ โดยเฉลี่ย  3.51-5.00

 

5.

สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการจัดทำแผนงาน โครงการ ในการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อม และ

    ภูมิทัศน์ของสถานศึกษาและการใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน

    ศูนย์วิทยบริการ โดยการมีส่วนร่วมของ ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและ

    ผู้เรียน

2. รายการผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการ

3. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อม และภูมิทัศน์ของสถานศึกษาและ

    การใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการโดยครูและ

   บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

4. หลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุง การบริหารจัดการ

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.9

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานพัสดุ 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานพัสดุ  หัวหน้าแผนกวิชา ครูผู้สอน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.9

ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีการประเมินประเมินความพึงพอใจของครู และบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน โดยใช้แบบประเมิน มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5 และมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการ การจัดหา การใช้วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์

 

2.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

 

3.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดหา การใช้วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์ โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

4.

สถานศึกษามีการผลการประเมิน ความพึงพอใจโดยเฉลี่ย  3.51 5.00

 

5.

สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. แผนงาน โครงการ การจัดหา วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และคอมพิวเตอร์

2. รายงานผลดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการ การจัดหา วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และ

    คอมพิวเตอร์

3. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และ

    คอมพิวเตอร์ โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

4. หลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุง การบริหารจัดการ

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.10

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานบุคลากร

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานบุคลากร งานวิจัยฯ รองฝ่ายวิชาการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.10

ระดับคุณภาพในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ

และจรรยาบรรณวิชาชีพ จัดหาทุนการศึกษา ทุนวิจัย หรือสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีโครงการแลกเปลี่ยน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กับสถานศึกษาอื่นหรือหน่วยงาน องค์กรภายนอกตรงกับสาขาวิชาชีพ มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม และ ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่อง

คุณภาพชีวิต หมายถึง การดำรงชีวิตอยู่ด้วยการมี สุขภาวะที่สมบรูณ์ และมีความมั่นคง

ซึ่งครอบคลุมสุขภาวะ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางอารมณ์ สุขภาวะ

ทางสังคม และสุขภาวะทางจิตและวิญญาณ

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ได้รับการฝึกอบรมด้านวิชาการหรือวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ได้รับทุนการศึกษา ทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ครูและบุคลากรทางการศึกษากับสถานศึกษาอื่นหรือหน่วยงานองค์กรภายนอกตรงกับสาขาวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

 

4.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

 

5.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องด้านวิชาการหรือวิชาชีพหรือจรรยาบรรณวิชาชีพ จากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

 

-2-

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา

2. ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมด้านวิชาการหรือวิชาชีพ

    และจรรยาบรรณวิชาชีพ

3. ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา ทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

   จากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

4. ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ครูและบุคลากร

   ทางการศึกษากับสถานศึกษาอื่นหรือหน่วยงานองค์กรภายนอกตรงกับสาขาวิชาชีพ

5. ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม

6. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องด้านวิชาการหรือวิชาชีพ

   หรือจรรยาบรรณวิชาชีพ จากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก

7. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.11

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวางแผนและงบประมาณ

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวางแผนและงบประมาณ หัวหน้าแผนกวิชา ครูผู้สอน งานส่งเสริมผลผลิต การค้า ฯ

งานการเงิน งานบัญชี งานวิจัยฯ งานโครงการพิเศษฯ  และ งานกิจกรรมนร.นศ. 

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.11

ระดับคุณภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการบริหารการเงิน และงบประมาณ สอดคล้องกับแผน  ปฏิบัติการประจำปีของสถาบันศึกษา ในด้านวัสดุฝึก อุปกรณ์และสื่อสำหรับการจัดการเรียนการสอน

การบริการวิชาการและอาชีพ  การส่งเริม สนับสนุนให้ครูและผู้เรียนจัดทำและดำเนินการ

จัดประกวด จัดแสดงโครงการนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

การดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็น-พลเมืองไทยและพลโลก

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีรายจ่ายค่าวัสดุฝึก อุปกรณ์และสื่อสำหรับการจัดการเรียนการสอน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  10  ของงบดำเนินการ

 

2.

สถานศึกษามีรายได้หรือมีมูลค่าของผลผลิต ผลงานจากการใช้วัสดุฝึกในการจัดการเรียน

การสอน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของค่าวัสดุฝึก

 

3.

สถานศึกษามีรายจ่ายค่าวัสดุฝึก อุปกรณ์และสื่อสำหรับการบริการวิชาการและวิชาชีพ

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของงบดำเนินการ

 

4.

สถานศึกษามีรายจ่ายในการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและผู้เรียนจัดทำและดำเนินการ

จัดประกวด จัดแสดงโครงการ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ไม่น้อยกว่า  5 ของงบดำเนินการ

 

5.

สถานศึกษามีรายจ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม ด้านการปลูกฝังจิตสำนึก

และเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลกไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของงบดำเนินการ


-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานแสดงงบดำเนินการสถานศึกษา

2. หลักฐานรายจ่ายค่าวัสดุฝึกอุปกรณ์และสื่อสำหรับการจัดการเรียนการสอน

3. หลักฐานรายได้หรือมูลค่าของผลผลิต ผลงานจากการใช้วัสดุฝึกในการจัดการเรียน

   การสอน

4. หลักฐานรายจ่ายค่าวัสดุฝึกอุปกรณ์และสื่อสำหรับการบริการวิชาการและวิชาชีพ

5. หลักฐานรายจ่ายในการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้เรียนจัดทำและดำเนินการจัด

   ประกวดจัดแสดงโครงการ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์หรือ งานวิจัย

6. หลักฐานรายจ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและ

   เสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

7. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.12

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานความร่วมมือ 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  รองฝ่ายบริหารทรัพยากร หัวหน้าแผนกวิชางานพัฒนาหลักสูตรฯ ครูผู้สอน  งานพัสดุ  งานแนะแนวฯ

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.12

ระดับคุณภาพในการระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่ายทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการมีการระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่าย ทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศ ในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ สถานประกอบการ งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์  ครุภัณฑ์ ฯลฯ และมีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุง

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการในการระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่ายทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศ

 

2.

สถานศึกษามีสาขางานที่มีการจัดหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง

ในประเทศและหรือต่างประเทศร่วมพัฒนาผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ  80 ของจำนวน

สาขางานที่เปิดสอน

 

3.

สถานศึกษามีจำนวนสถานประกอบการทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศที่มีส่วนร่วม

ในการจัดการศึกษากับสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า  20 แห่ง

 

4.

สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรอื่นๆ เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ฯลฯ

เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษา ไม่น้อยกว่า  5 รายการ

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการในการระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่ายทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศ

เพื่อการปรับปรุง

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. แผนงาน โครงการในการระดมทรัพยากรในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่ายทั้ง

   ในประเทศและหรือต่างประเทศ

2. ข้อมูลสาขางานที่เปิดสอนในสถานศึกษา

3. หลักฐานการจัดหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในประเทศและ หรือ

    ต่างประเทศร่วมพัฒนาผู้เรียน ในแต่ละสาขางาน

4. ข้อมูลสถานประกอบการทั้งในประเทศและ หรือต่างประเทศที่มีส่วนร่วมในการจัด

   การศึกษากับสถานศึกษา

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

(ต่อ)

5. รายการทรัพยากรอื่นๆ เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ ฯลฯเพื่อส่งเสริม

    สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษา

6. รายการการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ในการระดมทรัพยากร

    ในการจัดการอาชีวศึกษากับเครือข่ายทั้งในประเทศและหรือต่างประเทศเพื่อ

     การปรับปรุง

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.13

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานศูนย์วิทยบริการและห้องสมุด 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานศูนย์วิทยบริการและห้องสมุด  งานอาคารสถานที่  งานพัสดุ หัวหน้าแผนกวิชา ผู้รับผิดชอบห้องเรียนห้องปฏิบัติการ และ

โรงฝึกงาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.13

ระดับคุณภาพในการระดับคุณภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ และการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาให้มีบรรยากาศของการเรียนรู้ พร้อมด้วยโครงสร้างและวัสดุอุปกรณ์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ และการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ และการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร

ผู้เรียน  ชุมชน และ องค์กรภายนอก

 

2.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

 

3.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ และการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โดยผู้รับบริการ

 

4.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจ โดยเฉลี่ย  3.51-5.00

 

5.

สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการจัดทำแผนงาน โครงการ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่

   ห้องปฏิบัติการ และการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งระบบเทคโนโลยี

   สารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้  โดยการมีส่วนร่วมของ ครูและ

   บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

2. รายการผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการ

3. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่

   ห้องปฏิบัติการ และการจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์การศึกษา รวมทั้งระบบเทคโนโลยี

   สารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ โดยครูและบุคลากรทุกฝ่าย

   ในสถานศึกษาและผู้เรียน

4. หลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุง การบริหารจัดการ

5. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  3.14

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานความร่วมมือ 

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานความร่วมมือ  หัวหน้าแผนกวิชา

 งานพัฒนาหลักสูตรฯ ครูผู้สอน  ชุมชน และองค์กรภายนอก

 

 

มาตรฐานที่  3   

ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.14

ระดับคุณภาพในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการและหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา

คำอธิบาย

การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในอนาคตควรมุ่งเน้นการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็น

แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะเพื่อการประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับชุมชนและสังคมทุกภาคส่วนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

เพื่อให้สอดคล้องกับแนวการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้พิการและหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร ผู้เรียน  ชุมชน และ องค์กรภายนอก

 

2.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

 

3.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาส

ให้ผู้พิการและหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา โดยผู้รับบริการ

 

4.

สถานศึกษามีผลการประเมินความพึงพอใจ โดยเฉลี่ย  3.51-5.00

 

5.

สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการจัดทำแผนงาน โครงการ ในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาส

   ให้ผู้พิการและหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วม

   ของครู บุคลากร ผู้เรียน  ชุมชน และ องค์กรภายนอก

2. รายงานผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน โครงการ

3. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาส

   ให้ผู้พิการและหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา โดยครู บุคลากร

   ผู้เรียน ชุมชน และ องค์กรภายนอก

4. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาส

  ให้ผู้พิการและหรือผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษาจากสถานศึกษา โดยผู้รับบริการ

5. หลักฐานการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  4.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานโครงการพิเศษและบริการชุมชน

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานโครงการพิเศษฯ หัวหน้าแผนกวิชา 

ชมรมวิชาชีพ ครูและบุคลากรทางการศึกษา

และผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  4   

ด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพ

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1

ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการการบริการวิชาการและวิชาชีพ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการบริหารจัดการการบริการวิชาการและวิชาชีพโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียนทุกสาขางาน และมีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating scale) 1-5

     ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมตั้งแต่

1 ครั้ง ขึ้นไปให้นับเป็นจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมตามประเด็นการพิจารณา

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการ กิจกรรม บริการวิชาการและวิชาชีพ โดยการมีส่วนร่วม

ของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ทุกสาขางานดำเนินงานไม่น้อยกว่า  2  โครงการ กิจกรรมต่อปี

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

เข้าร่วมโครงการ กิจกรรม

 

4.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนในแต่ละสาขางานไม่น้อยกว่าร้อยละ  60  เข้าร่วมโครงการ กิจกรรม

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการและมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย

3.51 5.00

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

2. ข้อมูลสาขางานที่เปิดสอนในสถานศึกษา

3. ข้อมูลผู้เรียนในแต่ละสาขางาน

4. หลักฐานการจัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรม การบริการวิชาการและวิชาชีพ

    โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

5. โครงการ กิจกรรม การบริการวิชาการและวิชาชีพในแต่ละสาขางาน

6. ข้อมูล การเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

7. ข้อมูลการเข้าร่วมโครงการกิจกรรม ของผู้เรียนในแต่ละสาขางาน

8. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ

9. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน


-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  5.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวิจัย พัฒนา นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวิจัยฯ งานพัฒนาหลักสูตรฯ หัวหน้าแผนกวิชาชีพ ครูผู้สอนโดยเฉพาะผู้สอนวิชาโครงการ  โครงงานวิทยาศาสตร์ และวิจัยการตลาด

 

 

มาตรฐานที่  5   

ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1

ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยของผู้เรียน

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนระดับชั้น ปวช .3 และระดับชั้น ปวส 2 จัดทำโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ตามรายวิชาโครงการ และอื่นๆ และจัดให้มีการประกวด แสดงและเผยแพร่ผลงาน แข่งขันและได้รับรางวัลหรือนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน จังหวัดภาค และชาติ

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนจัดทำและดำเนินการจัดประกวด จัดแสดงโครงการ  สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนระดับชั้น ปวช.3  และระดับชั้น ปวส.2  จัดทำโครงการ

สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย  โดยมีจำนวนผลงานทั้งหมด ตามเกณฑ์เฉลี่ย

ระดับชั้น ปวช.3  จำนวน  3 คน : 1 ชิ้น  และระดับชั้น ปวส.2  จำนวน  2 คน : 1 ชิ้น 

 

3.

สถานศึกษาได้จัดประกวดและได้นำโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  50 ของจำนวนผลงานทั้งหมด ไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษา

 

4.

สถานศึกษาได้จัดประกวดและได้นำโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  25 ของจำนวนผลงานทั้งหมด เผยแพร่ต่อสาธารณชน

 

5.

สถานศึกษาได้จัดประกวดและได้นำโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  5 ของจำนวนผลงานทั้งหมด นำไปใช้ประโยชน์หรือได้รับรางวัล

ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค และชาติ

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1.  ข้อมูลผู้เรียนระดับชั้น ปวช.3 และระดับ ชั้น  ปวส.2 จำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชา

     สาขางาน

2.  หลักฐานการส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำ การจัดประกวด จัดแสดงโครงการ

     สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

3.  ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ในระดับชั้น ปวช.3 และ

     ระดับชั้น ปวส.2 ในแต่ละสาขางาน

4. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

(ต่อ)

4.  ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ที่ได้รับรางวัลหรือนำไปใช้

     ประโยชน์ในสถานศึกษา

5.  ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่

6.  ข้อมูลโครงการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ที่ได้รับรางวัลหรือนำไปใช้

     ประโยชน์ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค และชาติ

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  5.2

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานวิจัย พัฒนา นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานวิจัยฯ  หัวหน้าแผนกวิชา ครูผู้สอน

 

 

มาตรฐานที่  5   

ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2

ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยของครู

คำอธิบาย

     สถานศึกษามีการส่งเริมสนับสนุนให้ครูจัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย และจัดให้มีการประกวด จัดแสดงและเผยแพร่ผลงาน รวมทั้งการนำผลการไปใช้ประโยชน์ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค และชาติงานวิจัยของครูต้องครอบคลุมกระบวนการต่อไปนี้

     1. มีเป้าประสงค์                                 2. มีการระบุปัญหา

     3. มีวิธีการดำเนินการ                            4. มีการเก็บและบันทึกข้อมูล

     5. มีการวิเคราะห์และสรุปผลความรู้

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูจัดทำและดำเนินการจัดประกวด จัดแสดงโครงการ  สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูทุกคน จัดทำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย 

 

3.

สถานศึกษาได้จัดประกวดและได้นำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  75 ของจำนวนผลงานทั้งหมด ไปใช้ประโยชน์ในสถานศึกษา

 

4.

สถานศึกษาได้นำนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ  50 ของจำนวนผลงานทั้งหมด เผยแพร่ต่อสาธารณชน

 

5.

สถานศึกษาดำเนินการให้นวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

ไม่น้อยกว่าร้อยละ  5 ของจำนวนผลงานทั้งหมด นำไปใช้ประโยชน์หรือได้รับรางวัล

ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค และชาติ

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูทั้งหมดในสถานศึกษา

2. หลักฐานการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูจัดทำการจัดประกวด จัดแสดง นวัตกรรม

    สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

3. ข้อมูลวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย

4. ข้อมูลวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ที่ได้รับรางวัลหรือนำไปใช้

   ประโยชน์

5. ข้อมูลวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่

6. ข้อมูลวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ที่ได้รับรางวัลหรือนำไปใช้

   ประโยชน์ในระดับชุมชน จังหวัด ภาค และชาติ

7. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

 

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  6.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ชมรมวิชาชีพ องค์การนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  6   

ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1

ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์

ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินหารให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคน และผู้เรียนทุกคน

เข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม มีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุง การบริหารจัดการและมีการประเมินพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อภาพลักษณ์

ของสถานศึกษาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีจำนวนโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูน

พระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ไม่น้อยกว่า  5 โครงการ กิจกรรม 

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม 

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการ-ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

-2-

 

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา ที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย

3.51 5.00

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูแลบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

2. ข้อมูลผู้เรียนในสถานศึกษา

3. โครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม

     การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง

     ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

4. ข้อมูลผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูน

    พระมหากษัตริย์ ส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรง

    เป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

5. ข้อมูลครูแลบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝัง

    จิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม การปกครองระบอบ 

    ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา  ศิลปะ

    วัฒนธรรม

6. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ

    เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา-

    กษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

7. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึก

    ด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตย

    อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

8. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อ

   ภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักชาติ เทิดทูน

    พระมหากษัตริย์ ส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

    ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

9. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  6.2

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ชมรมวิชาชีพ องค์การนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  6   

ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2

ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

คำอธิบาย

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคน และผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุง การบริหารจัดการและมีการประเมินพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีจำนวนโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า  5 โครงการ กิจกรรม 

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคนการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียน

เพื่อนำผลไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา ที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ

มีผลการประเมินโดยเฉลี่ย  3.51 5.00

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูแลบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

2. ข้อมูลผู้เรียนในสถานศึกษา

3. โครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4. ข้อมูลผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์

    สิ่งแวดล้อม

5. ข้อมูลครูแลบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรมการปลูกฝัง

    จิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

6. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์

    สิ่งแวดล้อม

7. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึก

    ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

8. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อ

   ภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

9. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  6.3

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ชมรมวิชาชีพ องค์การนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  6   

ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3

ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการกีฬาและนันทนาการ

คำอธิบาย

     สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคน และผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม ด้านการกีฬาและนันทนาการ มีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุง การบริหารจัดการและมีการประเมินพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีจำนวนโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการกีฬาและนันทนาการ ไม่น้อยกว่า  5 โครงการ กิจกรรม 

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการกีฬาและนันทนาการ

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคนการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการกีฬาและนันทนาการ

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการกีฬาและนันทนาการ โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียน

เพื่อนำผลไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา ที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านการกีฬาและนันทนาการ

 และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย 3.51 5.00

 

-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. ข้อมูลครูแลบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

2. ข้อมูลผู้เรียนในสถานศึกษา

3. โครงการ กิจกรรม ด้านการกีฬาและนันทนาการ

4. ข้อมูลผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรม ด้านการกีฬาและนันทนาการ

5. ข้อมูลครูแลบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรม ด้านการกีฬาและ

    นันทนาการ

6. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรม ด้านการกีฬาและนันทนาการ

7. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมด้านการกีฬาและ

    นันทนาการ โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

8. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจ ของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อ 

   ภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ

9. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  6.4

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ชมรมวิชาชีพ องค์การนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  6   

ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

ตัวบ่งชี้ที่ 6.4

ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ มีแผนงาน โครงการในการบริหาร จัดการสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการ มีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน มีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการและมีการประเมินผลการดำเนินงาน โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุง การบริหารจัดการและมีการประเมินพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษาให้ความรู้และสร้างความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

2.

สถานศึกษามีแผนงาน โครงการ การบริหารจัดการสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

 

3.

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา ที่มีต่อ     การปลูกฝังจิตสำนึกด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย  3.51 5.00


-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ครูและ

    บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

2. หลักฐานการทำแผนงานโครงการการบริหารจัดการสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจ

   พอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

3. รายงานการดำเนินงานตามแผนงานโครงการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการในการบริหารจัดการ

   สถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากร

   ทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

5. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อ

    การปลูกฝังจิตสำนึกด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  6.5

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ชมรมวิชาชีพ องค์การนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ผู้เรียน

 

 

มาตรฐานที่  6   

ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

ตัวบ่งชี้ที่ 6.5

ระดับคุณภาพในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการปฏิบัติตนด้านจิตบริการให้แก่ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ มีแผนงาน โครงการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านจิตบริการ โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน  มีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการและมีการประเมินผลการดำเนินงาน โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการบริหารจัดการและมีการประเมินพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 1-5

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีจำนวนโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ

ไม่น้อยกว่า  5 โครงการ กิจกรรม 

 

2.

สถานศึกษาดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนเข้าร่วมโครงการ กิจกรรม การปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ

 

3.

สถานศึกษาดำเนินการให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาทุกคนการปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ

 

4.

สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ กิจกรรมการปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ โดยครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา และผู้เรียน เพื่อนำผลไปปรับปรุงการบริหารจัดการ

 

5.

สถานศึกษามีการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา ที่มีต่อภาพลักษณ์ของสถานศึกษาในการปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ และมีผลการประเมินโดยเฉลี่ย  3.51 5.00


-2-

 

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการปฏิบัติตนด้านจิตบริการให้แก่

    ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

2. หลักฐานการทำแผนงานโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะด้านจิตบริการ โดยการ

    มีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและผู้เรียน

3. รายงานการดำเนินงานตามแผนงานโครงการด้านจิตบริการ

4. หลักฐานการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการในการบริหารจัดการ

   สถานศึกษาด้านจิตบริการ โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

     และผู้เรียน

5. หลักฐานการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษาที่มีต่อ

    การปลูกฝังจิตสำนึกด้านจิตบริการ

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  5  ข้อ

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  4  ข้อ

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  3  ข้อ

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  2  ข้อ

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

 

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  7.1

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานประกันคุณภาพฯ งานวางแผนฯ คณะกรรมการด้านการประกันคุณภาพ และคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย

 

 

มาตรฐานที่  7   

ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1

ระดับคุณภาพในระบบการประกันคุณภาพภายใน

คำอธิบาย

     สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย การประเมินคุณภาพภายใน  การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553

ประเด็นการพิจารณา

1.

สถานศึกษามีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำแผนพัฒนา

การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 

โดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน ชุมชน

สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

 

2.

สถานศึกษาได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

 

3.

สถานศึกษาได้จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

 

4.

สถานศึกษาได้จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

 

5.

สถานศึกษาได้จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผลการประเมินคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอก

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

1. หลักฐานการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาการจัด

    การศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยการ

    มีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา ผู้เรียน ชุมชน สถานประกอบการ

    และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

2. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

3. หลักฐานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและ

    การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

4. รายงานการประเมินคุณภาพประจำปี

5. หลักฐานการนำผลการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอกไปใช้

    ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

6. หลักฐานการจัดโครงการ กิจกรรม สนับสนุน

-2-

 

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) (4) และ (5)

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) (3) และ (4)

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  (2) และ (3)

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น (1)  และ (2)

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ปฏิบัติตามประเด็น  1  ข้อ

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน


กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  7.2

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานประกันคุณภาพฯ คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ

 

 

มาตรฐานที่  7   

ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.2

ระดับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ.2555 ส่วนที่ 1 การจัดการอาชีวศึกษา 7 มาตรฐาน 35 ตัวบ่งชี้ และแสดงถึงคุณภาพของการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้

โดยมีผลการตัดสินของตัวบ่งชี้ได้ตามเกณฑ์สูงสุดในระดับ 5 คะแนน ดีมาก

ประเด็นการพิจารณา

จำนวนตัวบ่งชี้ที่มีผลการตัดสินตามเกณฑ์สูงสุดในระดับ 5 คะแนน ดีมาก

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

ผลการตัดสิน 34 ตัวบ่งชี้

มาตรฐาน 1 ตัวบ่งชี้ 1.1-1.9

มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้ 2.1-2.5

มาตรฐาน 3 ตัวบ่งชี้ 3.1-3.12

มาตรฐาน 4 ตัวบ่งชี้ 4.1

มาตรฐาน 5 ตัวบ่งชี้ 5.1-5.2

มาตรฐาน 6 ตัวบ่งชี้ 6.1-6.4

มาตรฐาน 7 ตัวบ่งชี้ 7.1

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน 30 34  ตัวบ่งชี้และไม่มีตัวบ่งชี้

ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือ

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  24 33  ตัวบ่งชี้

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  18 23  ตัวบ่งชี้

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  12 17  ตัวบ่งชี้

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  ต่ำกว่า  12  ตัวบ่งชี้

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

กรอบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก  พ.ศ. 2555

วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

 

ตัวบ่งชี้ที่  7.3

 

Ø ผู้รับผิดชอบ

งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

 

Ø ผู้เกี่ยวข้อง

งานประกันคุณภาพฯ คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ

 

 

มาตรฐานที่  7   

ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.3

ระดับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

พ.ศ. 2555

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก

พ.ศ.2555  จำนวน 7 มาตรฐาน 40 ตัวบ่งชี้ และแสดงถึงคุณภาพของการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้  โดยมีผลการตัดสินของตัวบ่งชี้ได้ตามเกณฑ์สูงสุดในระดับ 5 คะแนน ดีมาก

ประเด็นการพิจารณา

จำนวนตัวบ่งชี้ที่มีผลการตัดสินตามเกณฑ์สูงสุดในระดับ 5 คะแนน ดีมาก

หลักฐานที่ใช้ในการพิจารณา

ผลการตัดสิน 39 ตัวบ่งชี้

มาตรฐาน 1 ตัวบ่งชี้ 1.1-1.9

มาตรฐาน 2 ตัวบ่งชี้ 2.1-2.6

มาตรฐาน 3 ตัวบ่งชี้ 3.1-3.14

มาตรฐาน 4 ตัวบ่งชี้ 4.1

มาตรฐาน 5 ตัวบ่งชี้ 5.1-5.2

มาตรฐาน 6 ตัวบ่งชี้ 6.1-6.5

มาตรฐาน 7 ตัวบ่งชี้ 7.1-7.2

เกณฑ์การให้คะแนน

เกณฑ์การตัดสิน

ค่าคะแนน

ระดับคุณภาพ

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน 31 – 39  ตัวบ่งชี้และไม่มีตัวบ่งชี้

ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือ

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

=

5 คะแนน

ดีมาก

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  26 38  ตัวบ่งชี้

=

4 คะแนน

ดี

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  21 25  ตัวบ่งชี้

=

3 คะแนน

พอใช้

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  16 20  ตัวบ่งชี้

=

2 คะแนน

ต้องปรับปรุง

 

-

ตัวบ่งชี้ ที่มีผลการตัดสิน ระดับ ดีมาก จำนวน  ต่ำกว่า  16  ตัวบ่งชี้

=

1 คะแนน

ต้องปรับปรุงเร่งด่วน